With many thanks to our friend Chanchai Neerapattanagul for the Thai translation of the KSL Angular Movement.

Thai flag Return to other Thai translations

การเคลื่อนไหวเชิงมุม (Angular Movement)

เทคนิคการยิงธนู =   การเคลื่อนที่เชิงมุม

ผู้คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเทคนิคการยิงธนู           คือการเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงแต่ว่าเมื่อ ถามย้ำอีกสักหน่อย พวกเขาก็จะยอมรับในที่สุดว่ามีการเคลื่อนที่เชิงมุมอยู่บ้าง  อย่างไรก็ดี เราอยากจะบอกว่ามันเป็นการเคลื่อนที่แบบเชิงมุมเกือบทั้งสิ้น

ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มเติมจากเทคนิค  วงรอบการยิงแบบ KSL  เราจะแนะนำกรณีที่เทคนิคการยิงธนูประกอบด้วยการเคลื่อนที่แบบเชิงมุมเกือบทั้งหมดมากกว่าเทคนิคการผลักและดึง ซึ่งนักยิงธนูจำนวนมากใช้อยู่ และโดยพื้นฐานแล้วเป็นการเคลื่อนที่แบบเส้นตรง ซึ่งในทางไบโอแมคแคนิค (Biomechanics) แล้วไม่ใช่เทคนิคที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อาจจะเป็นคำพูดที่ดูทื่อๆ แต่เรามาลองตรวจสอบความตึงของกล้ามเนื้อหลัง (back tension)จากมุมมองของทางไบโอแมคแคนิค

ไบโอแมคแคนิคมีสองสาขาคือ การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Kinematics) และจลนศาสตร์ (Kinetics)

Kinematics จะเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งการเคลื่อนที่เชิงเส้นตรงและเชิงมุม ดังที่เราได้พูดไปแล้วก่อนหน้า “เราจะต้องหลีกห่างจากความเชื่อที่ว่าการขยาย (expansion) หรือแนวของแรงอย่างที่เราเรียกกันนั้นเป็นเพียงการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงและเกิดขึ้นเฉพาะในทิศทางเส้นตรงแนวเดียวกับลูกธนู, เมื่อเราสามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าการขยายนี้ไม่ใช่แค่เพียงการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงด้วยการผลัก และ/หรือการดึง แต่เป็นผลของการเคลื่อนที่เป็นวงกลมใหญ่มากกว่า (The Ratio of Movement อ้างอิงกับขั้นตอนที่ 9 ภายใต้หัวข้อ Shot Cycle ในเว็บนี้) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระดูกสะบักไปจนถึงกระดูกสันหลัง (การเคลื่อนที่เล็กน้อย)  กระดูกอกที่เชื่อมต่อกับข้อต่อที่อก (การเคลื่อนที่ที่ใหญ่กว่า) และแขนที่เหนี่ยวสายและที่ถือคันธนู (การเคลื่อนที่ที่ใหญ่ที่สุด)” เราจะเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ดังที่เราพูดว่า เทคนิคการยิงธนูเกือบทั้งหมดเป็นการเคลื่อนที่เชิงมุม มีเพียงส่วนเดียวเท่านั้นที่เป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้น นั้นคือจากการตั้งท่า (set-up) ไปยังการแองเคอร์ (anchor) ดังนั้นมันจึงมีความจำเป็นที่จะมีขั้นตอนการถ่ายโอนแรง (transfer) เพื่อที่จะสามารถถ่ายโอนการเคลื่อนที่เชิงเส้นตรงในส่วนนี้ไปเป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้น  พร้อมด้วยการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง มิฉะนั้นแล้วจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถเปลี่ยนจากการเคลื่อนที่เชิงเส้นตรงไปเป็นการเคลื่อนที่เชิงมุม

หลักการของการ “ฟอร์โลว์-ทรู” เป็นหลักการไบโอแมคแคนิคอีกหลักการหนึ่ง ซึ่งอธิบายอย่างชัดเจนว่า ความตึงของกล้ามเนื้อหลัง (back tension) เป็นการเคลื่อนที่เชิงมุม มันประกอบด้วยองค์ประกอบหลักๆ คือ ความตึง (tension) และทิศทาง (direction) แรงตึงในกล้ามเนื้อหลัง และทิศทางเป็นการเคลื่อนที่เชิงมุม ตลอดการ “ฟอร์โลว์-ทรู” นักยิงธนูจะต้องรู้สึกถึงความตึงในกล้ามเนื้อหลังที่เกิดจากกระดูกสบักเคลื่อนที่เข้าหากันอย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้ไม่เพียงเกิดจากการที่กระดูกสบักเคลื่อนที่เข้าหากระดูกสันหลังแต่เนื่องจากหน้าอกขยายออกเนื่องจากการเคลื่อนที่เชิงมุมของแผ่นหลัง

การหมุนรอบแกนกระดูกสันหลังซึ่งจะสามารถเห็นได้ชัดเจนจากเว็บไซด์นี้ภายใต้ Shot Sequence Photos ของ David Barnes, แสดงให้เห็นว่า,เมื่อเราดูจากเส้นในแนวตั้ง,การหมุนทั้งหมดจะเกิดขึ้นรอบๆกระดูกสันหลังของเขา 

ทำไม่ KSL Shot Cycle Technique ถึงได้เหนือว่าเทคนิคอื่นๆในทางไบโอแมคแคนิค ? ด้วยเหตุผลที่ว่ามันเป็นเทคนิคที่ทนต่อความเครียดสูงที่เกิดขึ้นกับนักยิงธนูดภายใต้สภาพความกดดันของสนามแข่งโอลิมปิค Match play ในการแข่งขัน World Championships and Olympic Games ได้ดีกว่า

งานวิจัยที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งโดย Tom Parrish, USA Archery High Performance Manager, วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยสูงสุดของผลการยิงธนู 3x12 ลูกของรอบ Individual Quarter, Semi and Gold final matches จากโอลิมปิคเกมส์ 2000 ถึงการแข่งขัน  World Championships 2005  ตามรายการข้างล่างมันไม่น่าแปลกใจที่พบว่า ผู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุดสามในห้าคนแรกเป็นนักยิงธนูออสเตรเลีย ซึ่งทุกคนได้รับการฝึกสอนโดยโค้ชลี ซึ่งใช้ KSL Shot Cycle Technique.

12 ARROW MATCHES AVG.
(WAC + OLYMPIC - 2000-2005)
1 CUDDIHY AUS 113.3
2 FAIRWEATHER AUS 112.7
3 TORRES FRA 112.7
4 BARNES AUS 112.3
5 YEON KOR 112.3
6 YAMAMOTO JPN 111.7
7 IM KOR 111.3
8 FRANGILLI ITA 110.7
9 VAN ALTEN NED 110.0
10 GALIAZZO ITA 110.0
11 CHUNG KOR 109.7
12 PARK KOR 108.7
13 CHOI KOR 108.3
14 WUNDERLE USA 107.3
15 MORIYA JPN 106.3


KSL Logo
© 2005- KSL International Archery - All rights reserved