With many thanks to to our Thai friend, Chanchai Neerapattanagul, for the translation of the KSL Breathing Cycle intoThai.
Return to other Thai translations
วงรอบการยิงแบบ KSL III รวมถึงรูปแบบการหายใจ
วิธีการที่ถูกต้องของการหายใจเป็นส่วนสำคัญของระบบควบคุมของนักยิงธนู นักยิงธนูส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะมีความรู้ในเรื่องวิธีการควบคุมการหายใจที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับวิธีการพื้นฐานอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ นักยิงธนูที่เข้าใจการหายใจและผลกระทบของการหายใจต่อประสิทธิภาพการยิงธนู และผู้ที่สามารถตระหนักถึงสถานะของการรู้ตัว (มีสติ) จะเป็นนักยิงธนูผู้ที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุด
พึงระลึกไว้เสมอว่าจิตใจที่กังวลไม่สามารถอยู่ในร่างกายที่ผ่อนคลาย หรือจิตใจที่สงบก็ไม่สามารถอยู่ในร่างกายที่ตึงเครียดเช่นกัน
ในทำนองเดียวกัน เราควรจะระลึกไว้ว่าแม้ว่าความกังวลหรือความกลุ้มใจ จะส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และอัตราการหายใจ การเปลี่ยนแปลงความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และอัตราการหายใจจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการประสานงานของกล้ามเนื้อละเอียด การโฟกัส จุดศูนย์ถ่วง(center of gravity) และจังหวะ (rhythm) ของนักยิงธนู ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญในการยิงธนูทั้งสิ้น
ดังนั้นการหายใจอย่างเหมาะสมจึงไม่ใช่แค่การผ่อนคลาย แต่ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพโดยการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด ลดความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ จึงส่งผลให้ลดความกังวลใจลงได้ด้วย การหายใจอย่างเหมาะสมยังช่วยนำพาพลังงานไปยังกล้ามเนื้อได้มากยิ่งขึ้นและช่วยในการกำจัดของเสียของร่างกาย
ด้วยเหตุนี้ การหายใจอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นและปัจจัยพื้นฐานของสมาธิ (concentration) ตามธรรมดาทั่วไปเมื่อจิตใจสงบ คนเราจะหายใจประมาณ 12 – 15 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อกระวนกระวายใจอัตราการหายใจอาจเพิ่มเป็นสองเท่า ผู้คนส่วนใหญ่จะหายใจเป็นตื้นๆเท่านั้น ,คือหายใจโดยใช้แค่เพียงส่วนบนของปอดหรือเพียง เศษหนึ่งส่วนหกของปริมาตรปอด อย่างไรก็ดี เราสามารถเรียนรู้ที่จะหายใจลึกขึ้นและอย่างช้าๆ ประมาณ 5 – 6 ครั้งต่อนาทีได้ ด้วยจุดประสงค์ดังกล่าวนักยิงธนูจะต้องเรียนวิธีการหายใจด้วยกระบังลม (Diaphragmatic Breathing) หรือที่รู้กันโดยทั่วไปว่า การหายใจแบบเซน (Zen Breathing) สิ่งนี้ควรได้รับการฝึกฝนทุกๆวัน เช่นเดียวกับการฝึกโฟกัส / การผ่อนคลาย จนกระทั่งเป็นไปตามธรรมชาติ การหายใจเช่นนี้จะได้รับการบรรยายอย่างละเอียดใน Total Archery และสามารถหา reference อย่างรายละเอียดได้อย่างมากมายในอินเตอร์เน็ต
การหายใจและการควบคุมการหายใจในระหว่างวงรอบการยิง
มีทฤษฎีต่างๆ มากมายเกี่ยวกับการหายใจ แต่โค้ชลี จะอธิบายสองวิธีที่เขาค้นพบว่าได้ให้ผลที่ดีที่สุดต่อนักยิงธนูที่เขาสอน จากประสบการณ์ยี่สิบห้าปีของการเป็นผู้ฝึกสอน ดังไดอะแกรมต่อไปนี้
วิธีทั้งสองนี้ได้แก่ option 1 (เส้นประสีขาว) ซึ่งมักจะใช้โดยนักยิงธนูที่กำลังพัฒนาฝีมือ แต่ก็ให้ผลดีได้เท่ากันสำหรับนักยิงธนูผู้มีประสบการณ์ และoption 2 (เส้นประสีฟ้า) สำหรับนักยิงธนูระดับทัวนาเม้นท์แข่งขันผู้มีประสบการณ์มาก ผู้ที่ได้เรียนรู้เทคนิคที่ดีมาแล้ว
Option 1
- ควรจะเริ่มหายใจเข้า ลึกๆด้วยกระบังลมก่อนที่จะยกคันธนูขึ้น
- ในขณะที่โฟกัสอยู่ที่เป้าหมาย หายใจเข้าตามปกติด้วยกระบังลม ระหว่างการยกคันธนูกับการเซ็ตท่า(setting up) นอกจากจะส่งผลต่อการเซ็ตท่า แต่ยังจะช่วยให้จุดกึ่งกลางแรงโน้มถ่วง(center of gravity)ต่ำลงอีกด้วย นอกจากนั้นมันยังช่วยให้ผู้ยิงเพิ่มระดับความโฟกัสและช่วยไม่ให้รีบเร่งน้าวสาย
- ในขณะทำการน้าวสายจากเซ็ตอัพ ให้หายใจเข้า ให้เข้าจังหวะกับจังหวะการน้าวสาย(drawing rhythm) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรู้สึกตามธรรมชาติว่ามีกำลังเพิ่มขึ้น
- จากการเริ่มต้นของการ loading/transfer ต่อไปยังเฟสของการ holding ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เริ่มต้นทำการเล็งเป้าหมาย จะผ่อนลมหายใจออกประมาณ 30-50% อย่างช้าๆ และเป็นธรรมชาติ เพื่อทำให้ศูนย์เล็งอยู่ในพื้นที่เล็งอย่างเป็นธรรมชาติ
- จากจุดนี้ จะต้องกลั้นหายใจไว้จนกว่าจะปล่อยลูกธนูและปล่อยลมออกตามธรรมชาติในระหว่างการ follow-through
เมื่อผู้ยิงเริ่มมีฝีมือก้าวหน้าขึ้นและได้เรียนรู้เทคนิดเพิ่มมากขึ้นวงรอบการหายใจอาจจะดัดแปลงได้ดังต่อไปนี้
Option2
- ควรจะเริ่มหายใจเข้า ลึกๆด้วยกระบังลมก่อนที่จะยกคันธนูขึ้น
- ในขณะทำการยกธนูหายใจเข้าลึกๆและเป็นธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคการหายใจด้วยกระบังลม ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรู้สึกตามธรรมชาติว่ามีกำลังเพิ่มขึ้น
- เมื่อมาถึงจุดน้าวสายเต็มที่ (full draw) แต่ก่อนที่จะเข้าสู่ anchoring จะผ่อนลมหายใจออกประมาณ 30-50% อย่างช้าๆ และเป็นธรรมชาติ จากนั้นให้กลั้นลมหายใจไว้เริ่มจากจุดนี้ไปจนกว่าจะปล่อยลูกธนูและปล่อยลมออกตามธรรมชาติในระหว่างการ follow-through
หลังจากที่ลมหายใจประมาณ 30-50% ถูกปล่อยออกจากปอด และกลั้นลมหายใจ (Valsalva manoeuvre*) สิ่งนี้จะทำให้แกนลำตัวมีเสถียรภาพมากกว่า และร่างกายที่แข็งแรงกว่า ให้อ้างถึงอัตราส่วนของการเคลื่อนที่ (Ratio of Movement) ภายใต้ วงรอบการยิงแบบ KSL ขั้นที่ 9 และ Archery Technique ในเว็บไซด์นี้ด้วย
นักยิงธนูระดับโลกจำนวนมากรวมทั้งนักยิงธนูเกาหลีจำนวนหนึ่ง ใช้ option 2 หรือรูปแบบที่แปรผันไปของมัน อย่างไรก็ดี โค้ชลี รู้สึกว่า option 1 มีข้อดีมากกว่า แม้แต่สำหรับนักยิงธนูระดับแข่งขันนานาชาติก็ตาม โดยการใช้การหายใจเริ่มต้นในขณะยกคันธนู มันจะช่วยทำให้ผู้ยิงเข้าสู่จังหวะได้ดีกว่า และช่วยเพิ่มโฟกัส อย่างไรก็ตามวิธีการใดๆก็ตามจะต้องใช้ Valsalva manoeuvre (พองตัวและเกร็งหน้าท้อง) อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วนักยิงธนูจะต้องหาเอาเองว่าวิธีใดเหมาะสมกับตัวเองที่สุด |